เพื่อที่จะสร้างธุรกิจใหม่ สิ่งแรกที่เราต้องมีเลย คือ มีไอเดียก่อนว่าเราจะแก้ปัญหาอะไร หรือไอเดียธุรกิจคร่าวๆ จะเป็นแค่ปัญหาที่สนใจ ซึ่งต้องเอาไปคิดหาไอเดียต่อ หรือจะเป็นไอเดียว่าธุรกิจคร่าวๆ ซึ่งต้องเอาไปทดสอบต่อว่าไอเดียนี้ มีปัญหาอยู่จริงหรือเปล่า

ดังนั้นจะเริ่มจาก ไอเดีย หรือ ปัญหา ก่อนก็ได้ แต่ถ้าตอนนี้ยังไม่มีไอเดีย ยังไม่เจอปัญหาที่จะแก้ เราจะหาไอเดียธุรกิจ ได้อย่างไรบ้าง

หาคิดไม่ออกลองเอาวิธีเหล่านี้ไปใช้ดูกัน

Inconvenient Things

มองหาสิ่งไม่สะดวกสบาย รอบตัว ในหนังสือ Build ของ Tony Fadell คนสร้าง iPod และ iPhone ได้แนะนำว่า
คนที่อยากสร้าง product ใหม่ ต้อง "อย่า" มองโลกมองสิ่งต่างๆ ด้วย ความเคยชินจนไม่สังเกตเห็นสิ่งที่ไม่สะดวกสบาย และกลายเป็นยอมรับสิ่งที่ไม่สะดวกสบายเหล่านั้น ว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับได้

เพราะจริงๆแล้ว โลกเต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่สะดวกสบาย เยอะมาก เราแค่ต้องฝึกตื่นตัวกับสิ่งต่างๆในชีวิต ฝึกมองหามุมที่สามารถดีขึ้นกว่านี้ได้ เลิกคิดว่าสิ่งนี้มันแย่มานานแล้ว ไม่มีทางดีกว่านี้ได้

วิธีทำ: ตั้งโจทย์กับตัวเองทุกเช้าว่าวันนี้จะตั้งใจมองหาสิ่งที่ควรต้องดีกว่านี้ เจออะไร ก็พยายามตั้งคำถามว่า ทำไมต้องเป็นแบบนี้ และจดบันทึกเอาไว้

ข้อควรระวัง: แรกๆ เราจะรู้สึกว่ายาก หาไม่เจอ แต่ทำไปเรื่อยๆ ทุกวัน แล้วเราจะหามันเจอ


Organic รู้สึกเอง

ถ้าเรามองหาสิ่งที่ไม่สะดวกสบาย และตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆ กับสิ่งต่างๆ ที่เราเจอไปเรื่อยๆ ทักษะด้านนี้ของเราก็จะเก่งขึ้น จนเราแทบจะไม่ต้องใช้ความพยายามตั้งใจจะหาไอเดียเลย

มันจะโมเมนต์ที่คุณเห็นว่า สิ่งนี้มันน่ารำคาญมาก และเทคโนโลยีปัจจุบันน่าจะแก้ได้แล้ว

Paul Graham ผู้ก่อตั้ง Y Combinator หนึ่งในกูรูด้านสตาร์ทอัพ เรียกการเจอไอเดียด้วยโมเมนต์แบบนี้โดยไม่ได้พยายามจะหาไอเดีย ว่า Organic

Live in the future & Look for things that seem to be MISSING

Expertise จากสิ่งที่คุณเชี่ยวชาญ

ถ้าเราไม่รู้จะเริ่มยังไงจริงๆ ให้เราเริ่มจากสิ่งที่เราทำมาเยอะ จะเป็นใน อุตสาหกรรม หรือ ฟังก์ชั่นงาน ก็ได้ แล้วมองดูว่า อะไรที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพบ้าง

ข้อดีของวิธีนี้ คือ เมื่อเป็นสิ่งที่คุณทำมามาก ความเป็นไปได้ที่สิ่งที่คุณมองว่าเป็นปัญหา จะเป็นจริงๆ นั้นสูงมาก และเมื่อเป็นสิ่งที่คุณทำมามากกว่าคนอื่น โอกาสที่คุณจะสร้างไอเดียแล้วเป็นธุรกิจจริงที่ตอบโจทย์ลูกค้า ชนะคู่แข่ง ย่อมสูงกว่า

วิธีทำ: ลองถามตัวเอง สังเกต และมองหา ว่า...

  • มี process ปัจจุบันอะไร ที่ดูไม่ efficient เป็น process ที่ใช้คนเยอะ
  • จ่ายเงินให้ software อะไรบ้าง แล้วจริงๆ แต่ละ software มีอะไรบ้างที่เราไม่ชอบ หรือยังขาดอยู่
  • อยากได้ tool อะไร ที่ถ้าได้มาแล้ว จะทำให้คุณหรือทีมทำงานได้ดีกว่านี้
  • คนในทีมบ่นเรื่องอะไรเยอะสุด
  • มีอะไรที่เราอยากลองทำ อยากทำใหม่บ้าง แต่บริษัทไม่ให้ หรือไม่เหมาะกับ culture, customer, process ของบริษัท

Who you want to help จากกลุ่มคนที่คุณอยากช่วยเหลือ

ถ้าไม่มี อุตสาหกรรม หรือ ฟังก์ชั่น งานไหนที่เราสนใจเป็นพิเศษ เราอาจจะเริ่มถามตัวเองว่า ตอนนี้มีใครที่เราอยากช่วยบ้าง มีคนกลุ่มไหน อาชีพไหน ช่วงอายุไหน ที่เราอินมาก แล้วค่อยไปทำความเข้าใจเขาจริงๆ ว่า ชีวิตเขาเป็นยังไง เข้าใจสภาพแวดล้อม เป้าหมายและปัญหาในชีวิต หาปัญหา สิ่งที่เขาไม่สะดวกสบาย สิ่งที่เขาเลือกใช้ในปัจจุบันยังไม่ตอบโจทย์ แล้วดูว่า อะไรที่ common ที่คนส่วนใหญ่ในกลุ่มพูดถึง

ข้อดี: กลุ่มเป้าหมายชัด หลายครั้งไอเดียที่เรามี เราเองก็ตอบไม่ได้ว่า กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการคือใคร แต่เมื่อกลุ่มเป้าหมายชัดเจน ต่อให้ปัญหาแรกที่คุณเลือกนั้นไปต่อไม่ได้ ไม่มีไอเดียที่เวิร์ก คุณสามารถหยิบปัญหาที่สองของกลุ่มนี้มาลองดู มันอาจจะเวิร์คก็ได้

วิธีทำ: ลิสกลุ่มคนที่คุณอยากช่วย แล้วไปเข้าใจชีวิตพวกเขา สัมภาษณ์พวกเขาอย่างเจาะลึกว่า

  • อะไรคือปัญหาในชีวิตพวกเขา
  • ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ เกิดที่ไหน เมื่อไร อย่างไร
  • ปัจจุบันใช้วิธีไหนแก้ปัญหาอยู่
  • ไม่เวิร์ก เพราะอะไร
  • สิ่งที่พวกเขาต้องการจริงๆ คืออะไร
  • ถ้าต้องจ่ายเงินเพื่อแก้ปัญหานี้ พวกเขาจะจ่ายหรือไม่ เพราะอะไร

ข้อควรระวัง: ในปัญหาที่เราเลือก กลุ่มเป้าหมายนี้อาจเป็นแค่ 1 ในประเภทผู้ใช้งาน เราต้องเข้าใจผู้ใช้งานประเภทอื่นด้วย และแก้ปัญหาพวกเขาให้ได้ เช่น แอปส่งอาหาร ที่ต้องเข้าใจทั้งลูกค้า ร้านค้า และไรเดอร์

อีกข้อ คือ กลุ่มเป้าหมาย มักจะมีหลากหลายปัญหาในชีวิต ปัญหาการทำงานก็หลายปัญหา ปัญหานอกเวลาทำงาน ก็มีหลายอย่างที่เขาอยากหาทางแก้ เราต้องรีบเลือกปัญหาที่คนสนใจ เพื่อเจาะลึก เพื่อให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง


Your problems จากปัญหาของคุณเอง

ถ้าไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหาให้ใคร ก็เริ่มจากปัญหาของตัวเอง

ข้อดี: อย่างน้อยก็มีตัวเรา 1 คน ที่เจอปัญหานี้จริงๆ และเวลาที่เราคิด ออกแบบวิธีแก้ปัญหา เราสามารถใช้ตัวเองตัดสินใจได้เลยไม่มากก็น้อยแล้วค่อยดูว่าคนอื่นมีปัญหานี้เหมือนเราหรือเปล่า

วิธีทำ:

  1. ลิสปัญหาและสิ่งที่ไม่สะดวกสบาย ตั้งแต่ตื่นนอน จนถึงเข้านอน ว่า ถ้าเป็นชีวิตส่วนตัว มีอะไรบ้าง ถ้าเป็นการทำงาน มีอะไรบ้าง
  2. เลือกปัญหาที่เรารำคาญสุดๆ พร้อมจ่ายเงิน มาสัก 3-5 ปัญหา
  3. ดูว่าคนอื่นๆ ในกลุ่มไหน ที่น่าจะมีปัญหานี้บ้าง แล้วไปเข้าใจเขาดูว่า เขามีปัญหาเหล่านั้นจริงหรือเปล่า เห็นว่าเป็นปัญหาด่วนที่อยากให้คนมาแก้หรือเปล่า เพราะอะไร

ข้อควรระวัง: เราต้องหาคนอื่นที่มีปัญหาอย่างเดียวกับเราให้ได้ เพราะโดยทั่วไปแล้วเราจะมีอคติกับปัญหาของเรา และมักเชื่อว่าคนอื่นก็มีปัญหาเหมือนกันกับเรา

ความยากอีกข้อ คือ การเขียนปัญหานั้นออกมาให้ลึกทุกแง่มุม ถ้าเป็นปัญหาคนอื่น เราก็จะสัมภาษณ์เขา และถามเจาะลึกได้ แต่พอเป็นปัญหาของตัวเอง พอไม่มีใครช่วยถาม เราจะเขียนปัญหาออกมาแบบผิวเผิน


Passion / Hobby / Community / Facebook Group จากสิ่งที่คุณชอบ

ถ้าคุณจะตั้งบริษัทเพื่อทำไอเดียนี้ หมายความว่าคุณจะต้องอยู่กับมันไปหลายปี ดังนั้นถ้าสิ่งที่เราจะทำ เป็นสิ่งที่อินแล้วนั้น เราจะมี passion กับมัน หรือถ้าทำมันอยู่แล้วเป็นงานอดิเรก
ก็จะดีมากๆ

วิธีทำ:

1.หาความสนใจของตัวเอง

    • ถามตัวเองว่า ตอนนี้เราอินกับเรื่องอะไร
    • สังเกตว่า เราทำอะไร แล้วรู้สึกว่าสนุก อยากหาความรู้เพิ่ม หรือเวลามันผ่านไปเร็วจัง
    • ใช้เวลากับ Facebook Group อะไรบ่อยๆ หรือ pantip ห้องไหนบ่อยๆ
  1. หา community ของสิ่งที่คุณสนใจ โดยเฉพาะ facebook group, line group
  2. ดูว่าเขาคุยอะไรกัน ปรึกษาอะไรกัน ซื้อขายอะไรกัน ใช้แอป/เข้าเว็บอะไรกัน
  3. ดูว่าอะไรดูไม่สะดวกสบาย ดูเป็นปัญหา
  4. เข้าไป engage ในกลุ่ม หาเพื่อน ถ้าพอเริ่มรู้จัก ลองถามถึงปัญหา สิ่งที่พวกเขาต้องการ

ข้อควรระวัง: พอเราเข้าไปดู Facebook group แล้ว เราอาจรู้สึกว่า ทำแอปหรือเว็บ ที่เหมือน Facebook Group แต่ใช้งานได้ดีกว่า น่าจะทำให้ประสบการณ์การใช้งานดีกว่านี้
แต่จากประสบการณ์ผม คือ ส่วนใหญ่ มันไม่แย่ คนขาย ก็ขายได้ คนซื้อ ก็หาซื้อของได้
ถึงจะลำบากหน่อยตอนค้นหาก็ตาม

ไอเดียที่จะเปลี่ยนให้ทั้งคนซื้อและคนขาย ออกจาก Facebook Group มาใช้ไอเดียของเราทั้งคู่ จึงต้องเป็นไอเดียที่แก้ปัญหาได้ดีกว่า Facebook Group 10 เท่า ทั้งคนซื้อและคนขายถึงจะเปลี่ยนมาใช้


การสร้างธุรกิจตามเทรนด์ใหม่ที่กำลังจะมา มีข้อดี คือ ตลาดกำลังจะเปลี่ยน ไม่ว่าจะเปลี่ยนด้วยเทคโนโลยีใหม่ หรือพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ

ถ้าเรามองมันออก และ ทำเป็นคนแรกๆ เราก็จะมีโอกาสครองตลาดนั้นได้ ในเวลาที่ยังไม่มีเจ้าใหญ่เข้าสร้างธุรกิจที่ตอบรับกับเทรนด์นั้น

วิธีทำ:

  1. google mega trends หรือ เทรนด์ในอุตสาหกรรมที่เราสนใจ
    หรือดู tech trend ที่ เว็บไซต์ Gartner สถาบันวิจัยเทรนด์เทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก
  2. ศึกษา trend ที่เราสนใจและพอมี background
  3. ดูว่ามันมาพร้อมกับโอกาสอะไรที่เหมาะกับประเทศไทยบ้าง

ข้อควรระวัง: การมองเทรนด์แล้วเปลี่ยนมาเป็นไอเดีย นั้นค่อนข้างยาก เพราะต้องเข้าใจเทคโนโลยีนั้นพอสมควร


Copycat จากการศึกษาบริษัทในต่างประเทศ

บริษัทเทคโนโลยี หรือ Product ดิจิตอล ในประเทศไทยนั้น ตามหลังประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดนวัตกรรม อย่าง อเมริกา และจีน อยู่ 3-10 ปี

หมายความว่า อะไรที่กำลังฮิตหรือเพิ่งประสบความสำเร็จในอเมริกาตอนนี้ อาจจะมาเกิดที่ไทย ในอีก 3-10 ปี ข้างหน้า

เราไปศึกษาดูว่าสตาร์ทอัพที่สำเร็จที่ประเทศอื่น เขาทำอะไรกันบ้าง หรือบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ ที่ประเทศอื่น เขาทำ Product อะไรกันบ้าง ที่ยังไม่มีในไทย เราอาจจะเจอโอกาสใหญ่ที่กำลังจะมาที่ไทย ถ้าทายถูก และลงมือทำ เราก็จะเป็นคนแรกๆ ที่ทำสิ่งนี้

ตอนไปศึกษาธุรกิจดิจิตอลในต่างประเทศ อย่าลืมว่า สภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน ต้องเอามาปรับ ทำให้เหมาะกับคนไทย และสภาพตลาดที่ไทยด้วย

ข้อดี: คือ เห็นชัดว่า ปัญหา, ลูกค้า, product, business model ที่เวิร์คที่อื่นคืออะไร เป็น shortcut ให้เราเริ่มได้เลย

วิธีทำ

  1. เลือกประเทศและอุตสาหกรรม ที่คุณสนใจหรือมี background (ส่วนตัวผมชอบ อินโดนีเซีย เพราะเห็นว่า โครงสร้างพื้นฐาน และพฤติกรรมผู้คน ใกล้เคียงกับไทย)
  2. Google top startups + industry + country
  3. ดูว่าอันไหนมีคนเอามาทำที่ไทยแล้วบ้าง
  4. ศึกษาอย่างละเอียดว่า ทำไมถึงเวิร์กที่นั่น อะไรคือปัจจัยความสำเร็จบ้าง
  5. ดูว่า แต่ละปัจจัยความสำเร็จ ที่ไทยเป็นเหมือนกันหรือเปล่า

อีกวิธีที่ทำได้คือ อ่าน Research ที่ศึกษาว่าสตาร์ทอัพที่พยายาม disrupt อุตสาหกรรมที่เราสนใจ หรือ มี background มีอะไรบ้าง ทำของใหม่คืออะไร

Research ที่แนะนำ คือของ CB Insights ซึ่งสรุปมาดีมาก ละเอียด และฟรี
ให้ลอง search google: CB Insights + disruption + industry

ข้อควรระวัง: สตาร์ทอัพในไทย ที่ทำไอเดียเดียวกับเมืองนอก ต้องมีการปรับให้เข้ากับคนไทยค่อนข้างเยอะ และอะไรที่เวิร์คเมืองนอก แล้วน่าจะเวิร์คที่ไทย ก็มีคนทำไปเกือบหมดแล้ว


References:

อย่าคิดว่า “ใช่” : เคล็ดวิธีสร้างธุรกิจที่ใช่ ในยุคดิจิทัล ใช้เงินน้อย แต่มีลูกค้าชัวร์
อย่าคิดว่า “ใช่” : เคล็ดวิธีสร้างธุรกิจที่ใช่ ในยุคดิจิทัล ใช้เงินน้อย แต่มีลูกค้าชัวร์