หนึ่งในการตัดสินยากๆของการทำธุรกิจอย่างนึงก็คือการตั้งราคาสินค้าที่ขายหรือให้บริการว่าจะต้องตั้งเท่าไหร่ดี หลายๆธุรกิจที่มักจะลืมไปว่าสินค้าที่ขายไม่ได้มีเพียงต้นทุนของ แต่ยังมีต้นทุนคนและค่าเสียเวลา รวมถึง ต้นทุนอื่นๆที่มองไม่เห็น ทำไปทำมา ยิ่งขายยิ่งขาดทุน ปิดกันไปก็เยอะนักต่อนัก

ดังนั้น การตั้งราคาขายจึงมีหลายหลากวิธี ต้องเลือกให้ถูกกับประเภทธุรกิจ

บทความนี้จะมาสรุป หลักของการตั้งราคาขายซึ่งเน้นไปสำหรับคนที่เริ่มต้นธุรกิจแบบ สตาร์ทอัพ (Startup) ว่า จะสามารถทำได้กี่รูปแบบและควรจะคิดราคาแบบไหนกันดีเพื่อไม่ให้เฉือนเนื้อตัวเอง
เพราะต้องชัดเจนว่าธุรกิจของเราเป็นแบบไหน ลักษณะของตลาดที่เขาคุ้นเคยการซื้อขาย รวมถึง คุณค่าของสินค้าบริการคุณ กลยุทธ์ที่คุณจะเลือกใช้เพื่อต่อสู้กับคู่แข่งจนไปถึงทิศทางในอนาคตของธุรกิจคุณด้วย

กว่า Facebook จะเริ่มต้นทำกำไรต้องใช้เวลาสร้างฐานของลูกค้าเกือบ 7 ปี ไม่ต่างกับ Twitter ก็เช่นกัน ซึ่งธุรกิจประเภทนี้ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล

มาลองดูกันดีกว่าว่า10 รูปแบบการตั้งราคาแบบไหนที่น่าจะเหมาะสมกัน

รูปแบบสินค้าหรือบริการฟรี แต่รายได้มาจากค่าโฆษณา

บริษัท startup ทั้งหลายชอบเรียกวิธีนี้ว่า โครงสร้างแบบ Facebook ไม่ว่าเมื่อไหร่เรื่องบริการที่ฟรี รายได้นั้นมักจะไปอยู่ที่โฆษณา คนใช้น่ะชอบแน่ๆ แต่สำหรับ Startup ถ้าเงินไม่หนักจริง และคุณไม่ได้มีกึ๋นระดับแบบ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ค คุณอาจจะไม่รอดเอาง่ายๆ

สินค้าฟรี แต่คุณจ่ายค่าบริการ

ในรูปแบบแบนี้ สินค้าจะถือว่าให้ลูกค้าโดยไม่คิดเงิน แต่ขอเก็บค่า ติดตั้ง ค่าCustomize ค่าอบรมหรือ สอน ซึ่งก็เป็นรูปแบบที่ดี แต่ให้ระมัดระวังเรื่องการตั้งราคาค่าบริการให้ดีรวมถึงค่าการตลาดด้วย

รูปแบบ ฟรีเมียม

ในความหลากหลายของรูปแบบที่เรียกว่าฟรี ถ้าคุณเคยใช้ LinkedIn ก็อาจจะพอนึกออกว่าบริการพื้นฐานฟรี แต่ถ้าต้องการขั้นพิเศษนั้นต้องจ่ายเงิน ซึ่งรูปแบบนี้ก็ถือเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างสูงไม่น้อย เพราะกว่าจะขายรูปแบบพรีเมียมได้นั้นส่วนใหญ่คนก็จะต้องลงบริการฟรีก่อนซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายคุณทั้งสิ้น

รูปแบบ พื้นฐานต้นทุน

ในรูปแบบการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์แบบดั้งเดิมนี้ราคาถูกกำหนดไว้ที่สองถึงห้าเท่าของต้นทุนสินค้า หากของๆของคุณเป็นสินค้าแบบพื้นฐาน อัตรากำไรอาจจะน้อยกว่าร้อยละสิบ ลองใช้เทคโนโลยีช่วย และเมื่อเทคโนโลยีใหม่ของคุณช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น

รูปแบบ เน้นคุณค่า

ถ้าคุณสามารถหาวิธีช่วยประหยัดราคาให้ลูกค้าได้ด้วยการขายที่จำนวนมากๆ และบวกราคาเพิ่มตามจำเป็นให้อย่างสมเหตุสมผล จะเป็นวิธีที่ใช้ได้ผลกับธุรกิจประเภท สุขภาพ หรือพวกที่มีความแมสที่ให้คุณค่าต่อคนจำนวนมาก

รูปแบบราคาแบบภาพรวม

รูปแบบราคาแบบนี้เกี่ยวข้องเฉพาะถ้าคุณมีสินค้าและบริการที่หลากหลาย แต่ละอันแตกต่างทั้งราคาและค่าใช้จ่าย วัตถุประสงค์ก็คือคุณสร้างรายได้ด้วยการคิดแบบเหมารวม บางอันได้กำไรสูงบางอันกำไรน้อย ซึ่งคงต้องมีการใช้การบริหารจัดการและสร้างความจงรักภักดีต่อลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ แต่สิ่งที่สำคัญคุณต้องวางพื้นฐานสินค้าให้สามารถมีระดับความสามารถหลากหลายที่ไต่ขึ้นไปได้ตั้งแต่ราคาน้อยๆไปถึงสูง

รูปแบบราคาแบบใบมีด

ราคาแบบนี้ขอให้นึกเหมือนกับเวลาที่คุณไปซื้อ ปริ้นเต้อร์ คือ กำไรมักจะไปอยู่ที่หมึกพิมพ์ แต่ตัวเครื่องนั้นเป็นเพียงการลงทุน ซึ่งการทำราคาแบบนี้ คุณต้องกระเป๋าใหญ่ใช้ได้ สตาร์ทอัพเริ่มใหม่ไม่ขอแนะนำ

รูปแบบราคาตามลำดับขั้นหรือจำนวน

สินค้าบางอย่าง อาจมีผู้ใช้รายเดียวหรือหลายแสนบริการซึ่งขึ้นอยู่กับการให้บริการว่าเป็นคนเดียวหรืองค์กร ดังนั้น การคิดค่าบริการจึงใช้วิธีนับเป็นจำนวนของผู้ใช้ และไล่ขึ้นไป เช่น จาก 1-5 คน ไปจนถึงระดับ เป็นหมื่นถึงแสนคน ซึ่งสามารถดัดแปลงให้เป็นแบบค่าบริการหรือการซื้อเป็นสินค้าก็ได้

รูปแบบราคาที่แข่งขันสูง

ในสภาพการแข่งขันที่สูง ราคาจะมีผลอย่างมากต่อการเปรียบเทียบ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นด้านต้นทุนหรือจำนวน รูปแบบนี้มักถูกบังคับให้คุณต้องสู้ด้วยตัวเลขที่ต่ำกว่า หรือในบางครั้งคุณก็อาจจะต้องตั้งบนราคาที่สูงกว่า แต่จะดีมากกว่าสำหรับสตาร์ทอัพ ถ้าคุณเริ่มต้นที่ราคาเดียวเสียก่อน

รูปแบบราคาตามฟีเจอร์(feature)

พูดง่ายๆราคาแพงถูกเพิ่มตามคุณลักษณะสินค้า เหมือนสมัยก่อนที่คุณจ้างช่างประกอบคอม เพิ่มอะไรคิดตามนั้น ซึ่งเป็นการขายกันแบบ ปลอกเปลือกเห็นราคากันทุกรายการ ซึ่งสินค้าประเภทบริการมักจะใช้วิธีการตั้งราคาแบบนี้


Reference: