เป็นหนังสือที่พูดถึง CEO คนหนึ่ง ที่ต้องเข้าไปแก้ไขปัญหาบริษัทๆ หนึ่ง ที่กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ โดยการเข้าไปวิเคราะห์ทีม วิเคราะห์การทำงานของคนในทีมแล้ว จนได้เจอปัญหาต่างๆ มากมาย ต่อก็สามารถจัดกลุ่มออกมาได้เป็น 5 จุดบอด

บทความนี้นอกจากจะสรุปจากหนังสือแล้ว ผมจะแทรกมุมมองจากประสบการณ์ของตัวเองเข้าไปด้วย


5 จุดบอดที่ทำให้คนในทีมทำงานด้วยกันไม่ได้

หลังจากที่ ceo ท่านนี้ได้พูดคุย และ สังเกตการณ์ การทำงานของผู้บริหารและพนักงานในระดับผู้จัดการแล้ว พบว่า ในบริษัทนี้มี 5 จุดบอดใหญ่ๆ ที่ต้องปรับแก้กัน

https://mbainthe.city/2023/05/12/the-index-card-summary-of-the-five-dysfunctions-of-a-team/

1.ขาดความเชื่อใจ

ความเชื่อใจเป็นพื้นฐานของการทำงานเป็นทีม ทีมจะทำงานไม่ได้ หากสมาชิกในทีมไม่เข้าใจและไม่เปิดใจให้กัน

โดยทั่วไปแล้ว สมาชิกในทีมที่ประสบความสำเร็จจะไม่มีความลับต่อกัน คนในทีมไม่กลัวที่จะเปิดเผยเรื่องน่าอายของตัวเอง ทุกคนสามารถเปิดเผย ข้อผิดพลาด จุดอ่อน แล้วก็ความกังวลของตัวเองได้ โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกเพื่อนร่วมทีมซ้ำเติม

แต่ถ้าไม่เชื่อใจกันเราก็ไม่มีทางที่จะทำให้ทีมบรรลุเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ได้ เราจึงต้องให้ความสำคัญกับความเชื่อใจเป็นอันดับแรก

การพูดคุยกัน

จากประสบการณ์ที่เจอส่วนใหญ่ ทีมที่จะประสบความสำเร็จ มักจะมีการ discuss กันตลอดเวลา ยิ่งเป็นทีมที่เชื่อใจกันมากๆ ก็ยังถกเถียงกันแบบไฟลุก

บริษัทที่ผมเคยทำงาน ถึงขึ้นแจ้งพนักงงานที่เข้าใหม่ว่า "เวลาที่ development team คุยกัน อย่างตกใจนะ อันนี้พวกเขากำลัง discuss กันอยู่ ไม่ใช่กำลังทะเลาะกัน"

เป้าหมายในการ discuss ไม่ได้มีไว้ เพื่อพูดคุยถึงงานเท่านั้น แต่คนในทีมจะต้องแสดงความคิดเห็น หรือ มุมมองของตัวเองออกมา ส่วนหนึ่งเพื่อเสนอ solution ไม่ว่ามันจะสุดแสนธรรมดาหรือโคตรว้าวก็ตาม หรือ คลายความสงสัย หรือ ทบทวนความเข้าใจของตัวเอง

Toxic

ในทีมที่ไม่มีความเชื่อใจกัน ส่วนใหญ่มักจะมีคนที่มีพฤติกรรม toxic อยู่ด้วยเสมอ เช่น ไม่สนใจการประชุม หยิบมือถือ/โน๊ตบุ๊คขึ้นมาเล่น พูดจาหรือแสดงอาการไม่ดีใส่เพื่อนร่วมทีม เป็นต้น

แน่นอนว่าพฤติกรรม toxic นี้มันเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ เพราะฉะนั้นเราจำเป็นต้องเจาะลึกถึงพฤติกรรมนั้น เพื่อหาสาเหตุว่ามันเกิดขึ้นจากอะไร และหาวิธีการแก้ไขมัน

ปกปิดความอ่อนแอ

การทำงานเป็นทีมต้องเริ่มด้วยความเชื่อใจกันและวิธีการเดียวที่จะทำแบบนั้นได้ก็คือการเอาชนะความต้องการที่จะปกปิดความอ่อนแอของตัวเอง

แน่นอนว่าโดยทั่วไป เรามักจะชอบปกปิดความอ่อนแอ (หรือจุดอ่อน) ของตัวเองกันอยู่แล้ว เพราะว่าเรากลัวว่า ถ้าคนอื่นรู้เข้า เขาจะเอาความอ่อนแอตรงนั้น มาเป็นจุดในการโจมตีหรือล้อเราได้

แต่ในการทำงานเป็นทีมนั้น การที่ทุกคนในทีมได้รู้จุดแข็งและจุดอ่อนของกันและกัน มันจะช่วยให้คนในทีมยอมรับและเข้าใจกันได้มากขึ้น

ยกตัวอย่าง เช่น ผมเคยมีน้องในทีมที่มักเผลอพูดจาไม่ดีกับคนในทีม (พูดโดยไม่ได้กรอง) แต่ทุกคนในทีมรู้ดีว่า มันเป็นข้อเสียของเขา (และเขาพยายามปรับแล้ว) แม้ว่า คำพูดบางอย่างมันอาจจะดูรุนแรงไปสำหรับคนอื่น แต่ทุกคนเข้าใจว่าเจตนาลึกๆ ของเขา ไม่ได้มีเจตนาที่ไม่ดี การพูดจาไม่ดีของเขาเลย ไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับทีม เป็นต้น

อีกอย่างหนึ่ง ถ้าเรารู้จุดแข็งหรือจะอ่อนของแต่ละคนในทีม มันจะช่วยให้เราสามารถช่วยเหลือกัน หรือ ช่วยกันรับมือได้ดียิ่งขึ้น


2.กลัวความขัดแย้ง (ความสามัคคีจอมปลอม)

บ่อยครั้งที่เราเห็นทีมทำงานด้วย ไม่มีปัญหา ไม่มีแม้กระทั่งความขัดแย้ง และไม่มีความคิดเห็นด้วย ซึ่งเมื่อไรก็ตามที่เอาเจอทีมที่ไม่ค่อยมีการโต้แย้งแสดงความคิดเห็นกัน อย่างตรงไปตรงมา นั่นอาจกำลังเป็นปัญหาอยู่ก็ได้

โดยทั่วไปแล้วมนุษย์เรา มักจะกลัวความขัดแย้งกับคนในกลุ่ม เพราะเมื่อไรก็ตามที่เราเริ่มมีความขัดแย้งกับคนในกลุ่ม มันทำให้คนในกลุ่มอาจจะแตกออกเป็นหลายๆ ฝ่าย และกลัวว่ามันจะทำงานยากขึ้น

บ่อยครั้งที่เรามักจะเลี่ยงการพูดคุย หรือ แสดงออกอย่างตรงไปตรงมา (ไม่ใช่หยาบคายนะ) และเก็บมันเอาไว้ สุดท้าย สิ่งที่เราเก็บมันไว้ในใจ มันก็มักหลุดออกมาในรูปแบบของคำพูดประชดประชัน หรือ การแสดงอาการที่ไม่เหมาะอยู่ดี

การขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์

ความขัดแย้งแบบสร้างสรรค์ คือ การพูดคุย ถกเถียง เพื่อหาวิธีการ ที่พาทีมไปยังเป้าหมาย หรือ เพื่อหาทางออกสำหรับปัญหา

แต่เมื่อไหร่ก็ตาม มีคนใดคนหนึ่ง เริ่มโต้แย้งเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตัวเองต้องการ (ดีต่อตัวเอง แต่ไม่ดีกับทีม) เมื่อนั้นความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ก็จะเป็นการทำเพื่อตัวเอง

สถานการณ์ ที่พบเจอได้บ่อยๆ เมื่อคนในทีมไม่สามารถพูดคุยและรับฟังกัน คือ ความเงียบ ไม่มีคำถามใดๆ ซึ่งสถานการณ์นี้เกิดขึ้นได้หลายกรณี แต่ถ้าเป็นกรณีที่แย่ เช่น เงียบเพราะเคยบอกไปแล้ว แต่คนอื่นไม่ฟัง

กรณีนี้ ส่วนใหญ่ มักจบลงที่ คนในทีมไม่อยากแสดงความคิดเห็น พูดคุยเพื่อหาวิธีการที่ดีที่สุด สุดท้ายคนๆ นั้น อาจเก็บอารมณ์ และแสดงออกโดยการพูดจาแบบเหน็บแนมได้ก็มี เมื่อไปถึงจุดนั้นแล้ว มันไม่ใช่การขัดแย้งแบบสร้างสรรค์แน่ๆ

ดังนั้น จุดสังเกตุ คือ ทุกคนในทีมกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นของตัวเองออกมา ไม่ว่ามันจะดีเลิศ หรือ อาจจะดูเหมือนความคิดของเด็กน้อยไปก็ตาม

แต่นั่นแสดงให้เราเห็นว่า แต่ละคนมีความคิด มุมมอง และความเข้าใจ ในเรื่องๆ นั้นๆ ไปในทิศทางไหน

กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นที่รู้สึกว่ามันโง่ที่สุด โดยที่ไม่รู้สึกว่าโดนคนในทีมดูถูก

3.ไม่ผูกมัดตัวเอง (ความคลุมเครือ)

เป็นจุดบอดที่แสดงให้เห็นว่า คนๆ นั้น ไม่ผูกมัดตัวเองเข้ากับแผนการหรือการตัดสินใจของทีม เรื่องนี้สามารถเชื่อมโยงเข้ากับข้อที่ 2 เรื่องการแสดงความคิดเห็น คือ

ถ้าคนเราไม่ได้แสดงความคิดเห็น ไม่รู้สึกว่าคนอื่นฟังสิ่งที่ตัวเองพูด พวกเขาก็จะไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของทีม

คนมีเหตุผลไม่ได้อยากเถียงกับใครเพื่อเอาชนะ พวกเขาแค่ต้องการให้คนอื่นรับฟัง และต้องการให้ข้อมูลของตัวเองได้รับการพิจารณาเท่านั้น

สุดท้ายเมื่อคนในทีมตัดสินใจกันแล้ว ทุกคนในทีมจะต้องยอมรับการตัดสินใจนั้น

การผูกมัดตัวเอง มันเป็นเหมือน ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตัดสินใจ หรือ ลงมือทำลงไป หากคนในทีม ไม่อยากผู้มัดตัวเองแล้วละก็ เราก็จะได้เห็นการทำงานที่สนใจแค่งานของตัวเอง กับ การโยนความผิดกันไปมา แทนที่จะยอมรับความผิดพลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้น


4.ไร้สำนึกรับผิดชอบ (การละเลยมาตรฐาน)

เมื่อเราเข้าใจและยอมรับในการตัดสินใจของทีมแล้ว เราต้องช่วยกันรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตกลงจะทำร่วมกัน เราต้องรักษามาตรฐานของผลงานและพฤติกรรมให้สูงเข้าไว้

ฟังดูเหมือนง่าย แต่ส่วนใหญ่เรามักจะไม่ค่อยทำกัน โดยเฉพาะเวลาที่เพื่อนร่วมงานแสดงพฤติกรรมไม่ดี เพราะพวกเขาไม่อยากทำให้เกิดบรรยากาศอึดอัดขึ้นในทีม

บางคนเลือกที่จะยอมทนกับพฤติกรรมเหล่านั้น เพื่อให้ไม่เกิดความอึดอัดภายในทีม ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นการฉุดรั้งให้มาตรฐานการทำงานในทีมลดลงได้

และเมื่อเป็นเช่นนั้น ความเป็นทีมก็จะลดลงไปอีก


5.ไม่ใส่ใจผลลัพธ์ (นึกถึงผลประโยชน์ของตัวเอง)

จุดบอดที่ร้ายแรงที่สุด คือ คนในทีมเอาแต่สนใจเป้าหมายของตัวเอง โดยไม่ได้สนใจผลลัพธ์ที่เป็นเป้าหมายของทั้งทีมเลย

เมื่อไหร่ก็ตามที่คนในทีมโฟกัสแค่ให้งานของตัวเองเสร็จ หรือแค่ให้ตัวเองผ่านเงื่อนไขอะไรบ้าง โดยไม่สนใจว่า ผลลัพธ์ของทั้งทีมเป็นยังไง การกระทำเหล่านั้นจะยิ่งส่งผลเสียให้แก่ทีมและตัวงานยิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่น ถ้าเราสนใจแค่ว่าเราเขียนโค้ดเสร็จ เราก็จะส่งงานต่อให้กับทาง tester โดยที่เราไม่ได้ทดสอบโค๊ดของเราให้เรียบร้อยซะก่อน นั่นทำให้ tester ต้องทำงานหนักขึ้น แถมเราเองก็ต้องกลับมาแก้ไขงานของเราที่เขียนขึ้นมาเองไปมากขึ้นด้วย

ผลประโยชน์ของตัวเอง กับ ผลประโยชน์ของทีม

ในการทำงานนั้นเราต้องบาลานซ์ระหว่าง ผลประโยชน์ของตัวเอง และ ผลประโยชน์ของทีม เป็นไปไม่ได้ที่เราจะไม่คิดถึงผลประโยชน์ของตัวเองเลย แต่ผลประโยชน์ของทีมต้องมาก่อนเพราะเราทำงานกันเป็นทีม

โดยปกติแล้ว ถ้าทุกคนจดจ่ออยู่กับผลลัพธ์ของทีม และมองว่ามันเป็นตัวกำหนดความสำเร็จ (มี Goal เดียวกัน) การนึกถึงผลประโยชน์ของตัวเองจะไม่สามารถสร้างปัญหาอะไรได้ เพราะทุกคนรู้ดีว่าต่อให้สถานการณ์ของตัวเองจะดูดีแค่ไหน แต่ถ้าทีมแพ้ทุกคนก็ต้องแพ้ไปด้วย

ในขณะเดียวกัน ผลประโยชน์ของตัวเองก็สำคัญ เพราะว่า มัน คือ การก้าวหน้าทางอาชีพการงาน และเป็นความภาคภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองได้ลงมือทำ

ดังนั้นเราจำเป็นต้องมาจัดการผลประโยชน์ของทีม และ ผลประโยชน์ของตัวเอง ให้มันสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ของตัวเอง และ ผลประโยชน์ของทีมเกิดขึ้น (จนสุดท้าย เราเลือกที่จะยึดผลประโยชน์ของตัวเองเป็นหลัก)

กุญแจสำคัญ คือ การกำหนดเป้าหมาย หรือ ผลลัพธ์ของเรา ให้เข้าใจง่าย และ มีความเฉพาะเจาะจงมากพอ ที่จะกระตุ้นให้เกิดการลงมือทำ

ทุกคนควรมีเป้าหมายเดียวกัน และ ใช้ตัวชี้วัดความสำเร็จเดียวกัน จากนั้นก็นำมาใช้เวลาที่ต้องตัดสินใจร่วมกัน


แถม...

https://omtglobal.com/5-dysfunctions-of-a-team/