ผ่านไปเห็น Duolingo handbook https://blog.duolingo.com/handbook/

หลักการทำงานของ Duolingo มี 5 ข้อ

1. Take the Long View

วางเป้าหมายให้ไกลแล้ว อย่าให้อะไรมาทำให้เป้าหมายสั่นคลอน

ที่ว่า ไกลนี่ คือ ไกลจริงๆ Duolingo วางเป้าหมายเป็นร้อยปี โดยมี mission ว่าเป็น educational tool our children and grandchildren might still using it

พอเป้าหมายมันไกลและมันชัด เขาเลยสามารถอดทนรอความสำเร็จข้างหน้าได้ โดยไม่มัวแวะ กับ small-win ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเป้าหมาย

Duolingo ให้ความสำคัญกับคนเก่งมาก ต้องเป็นคนเก่งที่ให้คุณค่ากับ Mission นี้ด้วย เพื่อทำให้เป้าหมายนี้สำเร็จไปด้วยกัน

เมื่อเป้าหมายมันชัดเขาเลยเป็น Tech Optimist คือ หาโอกาสจากการใช้ Technology มาทำให้เป้าหมายสำเร็จอยู่เสมอ

พอวาง 100 ปี brand แล้ว เจ้า Duolingo นกฮูกเลยเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งมากๆ การทำให้คนรัก และมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผู้เรียน ทำให้ไม่ว่าจะมีกี่แอพสอนภาษา ก็ไม่มีแอพไหนที่เหมือนกับ duolingo


2. Raise the Bar

ยกระดับทุกมาตรฐาน เพื่อให้เข้าใกล้คำว่า Excellence มากที่สุด

เพื่อให้งานมีมาตรฐาน ต้องหาว่าทำอย่างไรให้ Product ออกมาดีที่สุดให้ได้ โดยยึดหลักเรื่อง Hard on work, Easy on the people คือให้ feedback เรื่องงานที่จริงจัง constructive clear โดย focus on what, not who

ดังนั้นการทำงานต้องเปิดรับ feedback เพื่อให้งานออกมาดีที่สุด

สร้างความเป็น Ownership ให้กับพนักงาน เพื่อให้ทุกคนรู้สึกอยากพัฒนาให้ Product Excellence อยู่เสมอ

Duolingo มี Feature ที่ชื่อว่า Shake to Report คือ พนักงานต้องเข้าไปใช้งานแอพทุกวัน ถ้าเจอ bug หรือข้อผิดพลาด ให้เขย่าโทรศัพท์ Feature นี้จะ snapshot หน้านั้น แล้ว report issue ทันที

ทีม Product และ Design ของ Duolingo มีมาตรฐาน ว่า ทุก Feature ของ Duolingo ต้องมีสิ่งเหล่านี้

  • Useful: ต้องมีประโยชน์ ต้องรู้ว่าแต่ละอันที่ออกมาเพื่อผู้เรียนจะได้อะไร
  • Intuitive: ต้องใช้งานง่ายสำหรับทุกคน เขามาเรียนภาษา ไม่ได้มาเรียนวิธีการใช้งาน (โอ้ยย เจ็บ)
  • Delightful: ต้องสร้างความตื่นเต้น สนุกให้กับผู้ใช้
  • Polish: ต้องเรียบร้อย Complete แล้ว ไม่เอาแบบครึ่งๆ กลางๆ ออกมาให้คนอื่นเห็น ดังนั้นเขาเลยทำงานแบบ V1 not MVP เพราะ MVP อาจจะใช้งานได้ แต่ถ้าเป็น V1 มันต้องเรียบร้อยแล้วด้วย

3. Ship It

ส่งมอบ ส่งมอบ ส่งมอบ ส่งมอบเท่านั้นถึงจะเห็นผล

Duolingo ทำงานแบบทดลอง (Experiment) คือ ไม่คิดเองว่า อะไรดีหรือไม่ดี ลองทำจริง เอาขึ้นจริงเลย

แล้วดูผลว่าเป็นยังไง ให้ real data บอกว่าอะไรเวิร์คไม่เวิร์ค ซึ่งอีกสิ่งที่เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมกันคือ ความเร็ว ต้องทดลองให้เร็ว ยิ่งทำเร็ว ลองเร็วเท่าไหร่ ยิ่งได้คำตอบและแนวทางการทำงานข้างหน้าเร็วเท่านั้น

แต่ในขณะเดียวกัน จะลองอะไร ก็ต้องดูเรื่อง priority ด้วยว่า Impact กับ Mission สุดท้ายด้วยรึเปล่า

ถ้าทำแล้วไม่เวิร์ค ไม่ impact ก็ไม่เสียเวลา และไม่เสียดายที่จะตัดจบเลย Cut it!


4. Show Don't Tell

ทำให้เห็น ให้ผลงานเป็นเครื่องมือในการเล่าเรื่องด้วยตัวเอง

Say Less ในมุมนี้ duolingo ทำ 2 อย่าง คือ ใช้ Prototype ในการเล่าเรื่องแทน Pitch Deck หรือ ถ้ากับ user ก็ให้เรียนรู้การใช้งานด้วยตัวเองไปเลย ไม่มี instruction สอนมากมาย มันควรจะใช้ง่ายจนไม่ต้องสอนอะไรเลย

สร้าง culture ให้วัดผลจากผลลัพธ์ไม่ใช่ Opinion หรือ ความรู้สึก เขายกตัวอย่างว่า Luis (CEO ของ Duolingo) ถ้าต้องตัดสินใจที่เขาอาจจะไม่เห็นด้วย วิธีการ คือ เขาจะให้ไปลอง แล้วเอาผลมาบอกเลย

แต่นั้นก็เป็นเพราะว่า องค์กรต้องมีความเชื่อมั่น (Trust) ในกันและกันมากพอสมควร

มันเลยนำมาสู่เรื่อง Trust Battery หมายถึง พนักงานทุกคนมีหน้าที่ในการสร้าง Trust Battery ของตัวเองด้วยการแสดงให้คนอื่นเห็นคุณค่าและความสามารถของตัวเอง และในขณะเดียวกันก็ต้องพยายาม Charge Trust Battery นี้ ด้วยการ contribute งาน collaborate หรือช่วยเหลือคนอื่น เป็นต้น


5. Make it Fun

Learning doesn't have to be boring, and neither does work

Duolingo สร้างมันบนความเชื่อนี้

Product build on play สร้างการเรียนรู้ผ่านการเล่น และสร้างความแปลกใหม่ออกจากการเรียนรู้แบบเดิม หรือแบบที่คิดว่าคนอื่นคงจะเดาออก เช่น เวลาตอบถูก ถ้าเป็นปกติเราก็จะนึกถึงการดีใจ ยินด้วย จุดพลุ ปุ้งปั้ง แต่ Duolingo ใช้ตัวละครชื่อ Lily (ตัวสีม่วงที่หน้าตาไม่ค่อยสบอารมณ์) มายินดีด้วย ด้วยการตบมือช้าๆ แบบกวนๆ อันนี้ก็ทำให้คนเอ๊ะ แล้วมาตามหาเรื่องสนุกเล็กๆ เหล่านี้ตอนใช้งาน

Our product is fun because people who build it.

การสร้างบรรยากาศทุกๆอย่าง ให้ส่งเสริมความสนุก ความ Playful ก็ช่วยให้พนักงานมีไอเดีย ในการนำไปใส่ใน Product มากยิ่งขึ้น


การนำไปใช้งาน

เขาได้พูดถึงการนำ 5 ข้อนี้ มารวมกัน เรียกว่า The Green Machine มี 6 step

  1. Staff it with Great People: คนต้องเก่งก่อน เก่งพอที่จะทำให้ฝันที่มีเป็นจริง เก่งพอที่จะต้องหาทางในการทดลองเรื่องยากๆ ให้เร็ว และได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ
  2. Define Success: ให้ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและจับต้องได้ ไว้ตั้งแต่ต้นเลย เพราะว่าบางอย่างอาจจะทำไม่ได้ตั้งแต่วันแรก แต่ต้องพยายามทำให้จับต้องได้มากขึ้นในทุกๆ วัน
  3. Set Guardrails and Think Long Term: ต้อง Focus กับ Mission สุดท้าย พยายามสร้างราวกั้นขึ้นมาป้องกันไม่ให้หลุด ไปกับเรื่องอื่นๆ ระหว่างทาง
  4. Build the Thing and Set Up Feedback Loops: เมื่อไหร่ที่คิดว่าอันนี้จะดีไหม ให้ลงมือทำและวัดผล สร้าง Feedback Loop เพื่อจะได้พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
  5. Execute with Urgency and Excellence: นอกจากจะทำแล้ว ต้องทำอย่างเร็วและอย่างดีด้วย
  6. Double Down on What Works, Stop What Doesn't: เมื่อทดลองแล้วอะไรเวิร์ค ให้ลงแรง ลงคน ลงพลังงานเพิ่มได้เลย แต่ถ้าอะไรไม่เวิร์ค ให้หยุดเลยแบบไม่ต้องเสียดาย

References