สรุปข้อคิดดีๆ ที่ได้จากหนังสือเล่มนี้ โดยสรุปวิธีการรับมือออกมาเป็นข้อๆ ไว้

การรับมือเจ้านาย

เริ่มที่การรับมือกับเจ้านายก่อนเลย เจ้านายแต่ละประเภทเราจะรับมืออย่างไร

การรับมือเจ้านายชอบโยนความผิดให้ลูกน้อง

  • อดทนฟัง
  • ใช้วาจาสุภาพและมีเหตุผล
  • คุยกันซึ่งๆ หน้า

การรับมือเจ้านายที่ชอบจับผิด

  • พยายามคิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระอย่าไปใส่ใจ
  • บางครั้งก็ควรอธิบายเหตุผลออกไปบ้าง
  • ระมัดระวังตัว อย่าทำ อะไรที่เป็นการทำให้ เข้าใจผิด

การรับมีอเจ้านายชอบตำหนิ

  • ขอคำแนะนำจากเจ้านายว่าต้องการให้ทำงานชิ้นนี้อย่างไร
  • อย่าทำตัวให้เขาเห็นว่าคุณอ่อนแอ
  • ถามเจ้านายโดยตรง ถึงเหตุผลที่ตำหนิการทำงานของคุณ
  • พิสูจน์ผลงานให้เจ้านายได้เห็น

การรับมือเจ้านายชอบสับแหลก

  • ถ้าคุณทำงานผิดพลาดจริง ก็ต้องยอมรับแต่โดยดี
  • ห้ามเถียงเจ้านายจอมสับแหลกเพื่ออนาคตหน้าที่การทำงาน
  • นำคำสับแหลกของเจ้านายมาใช้แก้ไขข้อผิดพลาดทำงาน

การรับมือเจ้านายชอบนิ่งเงียบ

  • ใช้รายงานอย่างย่อในการรายงานเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับการทำงาน
  • มองโลกในแง่ดีว่า เจ้านายอาจจะเป็นคนพูดน้อย
  • ใช้วิธีปรึกษาเพื่อนร่วมงานที่มีประสบการณ์ในการทำงาน
  • ทำให้เจ้านายรู้เลยว่าเรามีความสามารถในการจัดการ

การรับมือเจ้านายขาดความรับผิดชอบ

  • รับผิดชอบงานของตัวเองให้ดีที่สุด อย่าให้เจ้านายกล่าวหาคุณได้ว่า ขาดความรับผิดชอบ
  • ทำให้เจ้านายรู้ไปเลยว่า คุณมีความรับผิดชอบในงานแค่ไหน ทำงานเสร็จตรงตามเวลาที่กำหนด
  • วิธีแก้กรณีเจ้านายมาประชุมไม่ตรงเวลา ให้นำตารางเวลากำหนดการเข้าประชุมไปวางไว้ที่โต๊ะเลย

การรับมือเจ้านายชอบต่อต้าน

  • ให้ลองทำตามความคิดของเจ้านาย ถ้าออกมาไม่ดี ให้รวมกลุ่มพูดกันในที่ประชุม แต่ถ้าออกมาดีก็ต้องยอมรับในความสามารถของเขา
  • ถ้าเจ้านายชอบต่อต้านความคิดของลูกน้องให้ไปศึกษาถึงข้อดีข้อเสียของความคิดว่า มีข้อดีมากกว่าข้อเสียหรือไม่ ถ้าเสี่ยงต่อการทำให้งานออกมาไม่ดี ให้เขียนรายงาน ข้อดีข้อเสียให้เจ้านายได้ทราบเพื่อประกอบการพิจารณา

การรับมือเจ้านายชอบโลเล

  • ลูกน้องต้องกดดันให้เจ้านายรีบตัดสินใจ เกี่ยวกับเรื่องงาน ที่จะมอบหมาย ให้ทำโดยต้องอ้างถึงผลกระทบที่อาจเกิดความเสียหายแก่บริษัท
  • ถ้าเปลี่ยนใจง่าย สั่งงานไปแล้วก็ลืม วิธีแก้ไขคือเมื่อมีการประชุมมอบหมายงานจากเจ้านาย ให้กลับมาทำ โดยจดบันทึกคำสั่งของเจ้านายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หรืออัดคำสั่งของเจ้านายไว้เป็นหลักฐานเพื่อโต้แย้งเจ้านาย

การรับมือเจ้านายชอบหยาบคาย

  • ลูกน้องต้องไม่ทำกิริยาหยาบคายเหมือนเจ้านาย ปล่อยให้เขาทำคนเดียว คนอื่นจะได้หมดศรัทธาในตัวเขา
  • ถ้าทนไม่ไหว ให้ตอบโต้กลับไปอย่างสุภาพ แล้วเขาจะเกิดความละอายเอง
  • ถ้าคิดว่าจะไม่ทำงานร่วมกับเจ้านายคนนี้แล้ว ก็บอกเขาไปเลยว่าเขาเป็นเจ้านายที่แย่ พูดจาหยาบคาย ทำให้ลูกน้องหมดศรัทธา

การรับมือเจ้านายจอมเผด็จการ

  • ถ้า ยังหางานทำที่อื่นไม่ได้แนะนำว่าอย่าไปโต้เถียงกับเจ้านายประเภทนี้เป็นอันขาด
  • คุณต้องปรับปรุงตัวเองใหม่ให้เป็นคนที่เข้มแข็ง อดทนสงบนิ่งเคร่งขรึมมั่นใจในตัวเองมากขึ้นเพื่อเจ้านายประเภทนี้จะไม่มาตอแยหาเรื่องคุณอีก
  • ถ้าเจอเจ้านายเผด็จการกับลูกน้องอย่างไม่มีเหตุผล ควรหาโอกาสพูดคุยถึงความไม่เป็นธรรมที่คุณได้รับ แต่ถ้าเจ้านายไม่รับฟัง ควรมองหางานที่ใหม่ทำได้เลย

การรับมือลูกน้องและเพื่อน

มาดูในมุมของการรับมือกับลูกน้องและเพื่อนร่วมงานแต่ละแบบกัน

การรับมือลูกน้องและเพื่อนร่วมงานขี้ประจบสอพลอ

  • ต้องสั่งงานให้ทำอย่างมีกำหนดเวลา เพื่อไม่ให้มีเวลาว่าง
  • เรียกมาตักเตือนโดยตรง-ถ้าในฐานะเพื่อนร่วมงาน ห้ามช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานประเภทนี้เพราะจะกินแรงเราแล้วเอาเวลาไปประจบสอพลอ
  • ไม่คบค้าสมาคมเพื่อดัดนิสัยประจบสอพลอ
  • บอกเขาไปโดยตรงว่าไม่ชอบนิสัยเช่นนี้ของเพื่อนร่วมงาน

การรับมือลูกน้องและเพื่อนร่วมงานช่างฟ้อง

  • ในฐานะเจ้านาย ต้องเรียกมาตักเตือน
  • พิจารณาเรื่องต่างๆที่ลูกน้องประเภทนี้มารายงานให้ฟังว่าจริงเท็จประการใด
  • ในฐานะเพื่อนร่วมงานต้องระมัดระวังอย่าให้เพื่อนร่วมงานช่างฟ้องหาเรื่องใส่ร้ายคุณได้เด็ดขาด
  • พยายามอย่าใกล้ชิดสนิทสนมเพราะเพื่อนคนอื่นจะมองว่าเป็นพวกเดียวกับ
  • ดัดนิสัยเพื่อนร่วมงานช่างฟ้อง โดยเลิกคบค้าสมาคม

การรับมือลูกน้องและเพื่อนร่วมงานชอบป้ายความผิด

  • ในฐานะเจ้านายถ้าเจอลูกน้อง ประเภทนี้ คุณต้องหาหลักฐานความจริงมาแสดงให้เขาดูจนดิ้นไม่หลุดเป็นการกู้หน้าความเป็นผู้นำรวมทั้งทำให้ลูกน้องคนอื่นเกิดความเชื่อถือและมั่นใจในตัวคุณ แล้วหาบทลงโทษ พนักงานที่ชอบป้ายความผิด
  • ถ้ารู้ว่าเรื่องที่ลูกน้องคนอื่นถูกป้ายความผิดไม่เป็นความจริง ให้เรียกไต่สวนหาความจริง เพื่อลูกน้องที่เป็นแพะรับบาปจะได้พ้นผิดและมีกำลังใจที่จะทำงานต่อไป แล้วก็ลงโทษผู้ป้ายความผิดคนนั้น
  • ในฐานะเพื่อนร่วมงานให้ระมัดระวังตัวเองอย่าให้เพื่อนร่วมงานจอมป้ายความผิดใส่ร้ายคุณได้

การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของทุกคนในองค์กร พนักงานทุกคนรวมทั้งผู้บริหารทุกระดับ จะต้องยึดหลักที่ว่า "เอาใจเขามาใส่ใจเรา"

เพื่อที่องค์กรจะก้าวสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายโดยไม่มีปัญหาระหว่างเจ้านายและลูกน้องมาเป็นอุปสรรคในการทำงาน